วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ย่อเรื่อง อยู่กับก๋ง วิชาภาษาไทย อ.อมรา

เรื่องย่ออยู่กับก๋ง

บ้าน สวน พ.ศ.2548 หยก ชายชราวัย 60 ปี ประสบความสำเร็จในอาชีพนักเขียนของตน มีผลงานตีพิมพ์มากมาย ทุกวันนี้เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวใหญ่ มีลูกหลานมากมาย เมื่อมองภาพครอบครัวที่อบอุ่นอย่างทุกวันนี้ หยกมักจะย้อนคิดถึงวัยเด็กที่มีเพียงเขาและ ก๋ง ทุกครั้งก๋ง ชายชราชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก ก๋งเป็นช่างฝีมือ ประกอบอาชีพหลักคืองานซ่อมเซรามิค อันเป็นวิชาที่ติดตัวมาจากเมืองจีน ความคิดอ่านที่กว้างไกลและความเมตตาของก๋ง ทำให้ก๋งได้รับการนับหน้าถือตาจากผู้คนมากมายในชุมชนห้องแถวที่อาศัยอยู่ ซึ่งผลบุญนี้ได้ตกมาถึง หยก เด็กกำพร้าที่ก๋งได้อุปการะไว้ หยกเติบโตอย่างอบอุ่นภายใต้การเลี้ยงดูของก๋ง แต่เขาก็ยังรู้สึกถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง หยกมักสงสัยว่าทำไมตนจึงไม่มีพ่อแม่เหมือนคนอื่น จนวันหนึ่งหยกได้พบเห็นเด็กกำพร้าที่ถูกเอามาวางทิ้งไว้ หยกจึงได้เข้าใจว่าโลกนี้ยังมีเด็กโชคร้ายอีกหลายคนนัก และเพื่อนเขาบางคนเช่น ป้อม ลูกชายของ คุณนายทองห่อ กับคุณปลัด ที่แม้จะมีพ่อแม่พร้อมหน้า หากหยกได้รู้ความจริงว่าภายใต้รอยยิ้มนั้น มีแต่การปั้นหน้าใส่กัน หยกจึงเข้าใจว่า แท้จริงแล้วการที่เขามีก๋งคอยให้ความรักกับเขาอย่างแท้จริงต่างหากที่ทำให้ เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว ชุมชนห้องแถวที่ก๋งและหยกอาศัยอยู่เป็นแหล่งรวมคนจีนมากหน้า เพื่อนบ้านที่สนิทกันอยู่ก็คือ เง็กจู ซึ่งเป็นที่ยึดติดกับธรรมเนียมจีนอย่างเหนียวแน่น และไม่ค่อยยอมรับความเปลี่ยนแปลง เง็กจูมีลูกชายคือ เพ้ง และลูกสาวคือ เกียว หลายครั้งที่เง็กจูมีปัญหากับลูก ก๋งจะเป็นคนคอยแก้ปัญหาให้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เกียวแหกประเพณีเดิมของผู้หญิงจีน หนีไปเรียนภาคค่ำ หรือตอนที่เพ้งรับ นวล ภรรยาคนไทยเข้าบ้าน จนเง็กจูขู่จะฆ่าตัวตาย ก๋งเป็นคนชี้ทางสว่างให้เง็กจูเห็นและยอมปรับทัศนคติเพื่ออยู่ร่วมกับลูก หลานในโลกปัจจุบันให้ได้ หรือแม้แต่คนไทยบางคนที่มาเช่าบ้านอยู่ในชุมชนจีนนี้ ก๋งก็เป็นคนจีนคนเดียวที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ ขณะที่คนจีนคนอื่นๆ ตั้งแง่รังเกียจ ไม่ว่าจะเป็น สมพร หญิงสาวผู้โชคร้ายที่หนีออกมาจากซ่องโสเภณี แฉล้ม และไพศาล คู่ผัวเมียที่ทะเยอทะยานในวัตถุจนตกเป็นทาสการพนัน และหาญ กับจำเรียง หนุ่มสาวที่วิวาห์เหาะมาจากกรุงเทพฯ ชุมชนห้องแถว พ.ศ.2548 หยก กลับไปเยี่ยมชุมชนห้องแถวอีกครั้ง เขาเพ่งมองภาพถ่ายขาวดำของงานวันแซยิด ในห้องแถวหลังเก่าของตัวเอง เรื่องราวเก่าๆ ยังคงฉายชัดอยู่ในความทรงจำของเขา แม้ว่าวันนี้ชุมชนห้องแถวจะเปลี่ยนแปลงและเจริญขึ้นมากกว่าวันก่อนแล้วก็ตาม หน้าห้องแถวห้องหนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งนอนอ่านหนังสือให้อากงของตัวเองฟัง หยกนึกถึงภาพตัวเองกับก๋งในวัยเด็ก และยิ้มออกมาเมื่อเห็นชื่อหนังสือ “อยู่กับก๋ง” บนหน้าปก หยกเหม่อมองท้องฟ้าราวกับจะมองหาก๋ง อยากให้ก๋งได้เห็นว่าวันนี้ เขาได้ทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับก๋งแล้ว



ข้อคิดที่ได้จาก เรื่อง อยู่กับ ก๋ง
ความ ยากจน...กำลังใจของชีวิตไม่ต้องอายที่เป็นคนจน แต่ควรอายที่เป็นคนเลว เพราะความจนความรวยเราเลือกไม่ได้ แต่ความดีความเลว เราเลือกทำเลือกเว้นได้...ความสุขของคนร่ำรวย คือ การนั่งเก็บเกี่ยวผลไม้จากงานที่ทำสำเร็จไปแล้วในอดีต แต่คนจนมีความสุขกับการได้เริ่มทำงาน ความจนเป็นนายที่คอยชี้นิ้วบัญชา ความดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงมิให้ระทดท้อ เทพเจ้าแห่งความโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนที่เกียจคร้าน ก๋งสอนให้หยกยอมรับความเป็นจริงของชีวิต มีความมั่นใจในตัวเอง...เข้มแข็ง บุกบั่น เพื่อความอยู่รอด หยกเป็นสุขได้ในความขัดสนยากจน และไม่เคยท้อแท้


วรรคทองจากเรื่อง อยู่กับก๋ง
คน ที่ไม่เป็นระเบียบ ชีวิตจะยุ่งเหยิง คนที่ไม่รักความสะอาด จะหาความสดชื่นแจ่มใสไม่ได้ และคนที่ไม่รักความสุจริต ชีวิตจะมีมลทิน (บทที่ 1 รุ่งอรุณ ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน แต่ควรอายที่เป็นคนเลว เพราะความจนความรวยเราเลือกไม่ได้ แต่ความดีความเลวเราเลือกทำเลือกเว้นได้ (บทที่ 1 รุ่งอรุณ ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
ไม่ใช่ว่าดวงดีแล้วจะร่ำรวยได้ ก่อนจะสร้างตัวได้สำเร็จเขาจะต้องผ่านการทำงานอย่างหนักมาแล้วด้วย รู้จักหาเงิน รู้จักเก็บงำ รู้จักคิดหาช่องทางต่อทุน ฐานะของเขาจึงเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้ ไม่มีใครโชคดีถึงกับนอนขี้เกียจอยู่ข้างถนนแล้วเทวดาจะโยนถุงเงินลงมาให้ถัง หน้าตัก...จำไว้ (บทที่ 2 พบกันที่ตลาด ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
เขาไม่ อยากเป็นเพื่อนกับเราก็ตามใจเขา แต่อย่าไปโกรธหรือเกลียดชังเขา ในโรงเรียนและในตลาดเรายังหาเพื่อนที่จะคบเราอย่างจริงใจได้อีกมากมาย ขอให้เราเป็นคนดีเท่านั้น (บทที่ 2 พบกันที่ตลาด ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
ความจริงของคนคนหนึ่ง ไม่ใช่ความจริงของคนทั้งหมด (บทที่ 4 ในสำรับคนยาก ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
เรียน ไปเถอะหยก คนจนต้องหาวิชาไว้เลี้ยงตัว เพราะไม่มีเงินทองไว้ให้ใช้สอยโดยไม่ต้องทำงาน ตอนเด็กทุกคนมีหน้าที่เรียน โตแล้วทำงาน...คนมีวิชาติดตัวยากนักที่จะอับจน แพ้คนยาก และไม่เสียเปรียบใครด้วย ถ้าไม่มีวิชาติดตัวเลยจะทำงานสูงๆ อะไรก็ไม่ได้ ต้องเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ติดอยู่กับดินกับทรายตลอดชีวิต...พยายามเรียนไปเถอะหยก หมดสมองที่จะเรียนเมื่อไรค่อยหยุด (บทที่ 4 ในสำรับคนยาก ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
การตอบแทนบุญคุณทำได้หลายรูป...แต่รูปที่เหมาะ ที่สุดคือต้องให้สะดวกใจทั้งผู้ให้และผู้รับ (บทที่ 7 ครูบรรยงค์ ข้อความนี้ก๋งพูดกับหยก)
คนไม่ผิดผมลงโทษไม่ได้ แต่คนผิดผมไม่ลงโทษให้ได้ (บทที่ 15 ลำดวนและน้ำตาของหยก ครูบรรยงค์พูดกับศึกษาธิการอำเภอ)


2 ความคิดเห็น: